วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


         
   



    3.เครื่องเรือนที่ทำจากโลหะ
         
      
                            วัสดุจำพวกโลหะมีคุณสมบัติแข็ง ขัดเงาขึ้นแวววาว นำความร้อนได้ดี ในสมัยโบราณมีการทำเครื่องมือเครื่องใช้โดยใช้เนื้อโลหะบริสุทธิ์ เช่น เงิน ทองคำ ทองแดง ต่อมามีการพัฒนาเป็นพวกโลหะผสม ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ยิ่งขึ้น โลหะที่ทำเครื่องใช้ในบ้านของเรา มีดังต่อไปนี้

         1. เหล็ก เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เช่น มีด จอบ เสียม และอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านอื่น ๆ มีวิธีดูแลรักษา ดังนี้
· ใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือ เช่น มีดสำหรับสับเนื้อ ไม่ควรนำไปฟันไม้ เป็นต้น
· หลังจากใช้แล้วรีบทำความสะอาดทันที โดยใช้น้ำสบู่ล้างออกจนสะอาด หากสกปรกมากให้ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้ง
· ควรทาน้ำมันเคลือบเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันสนิม
· อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ที่เป็นเหล็กถูกน้ำนาน ๆ หรือแช่น้ำนาน ๆ เพราะจะทำให้เป็นสนิม ถ้ามีสนิมขึ้น ให้ใช้ฝอยขัดสนิมให้หมด เช็ดให้แห้ง ใช้น้ำมันทากันสนิม แล้วเก็บเข้าที่

   การเก็บรักษา
เครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง ปลอก หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด ไม่วางไว้ในที่ลมพัดผ่าน เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม
        2. เครื่องเงิน เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะเงิน เช่น ชุดน้ำชา ขันเงิน พาน โดยธรรมชาติของเครื่องเงิน ถ้าถูกอากาศจะเกิดปฏิกิริยา ทำให้เครื่องเงินหมองคล้ำ การดูแลรักษาควรปฏิบัติ ดังนี้
· ใช้แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกทันที
· ล้างด้วยน้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะ หรือน้ำมะนาวผสมสบู่ ขัดให้สะอาด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
· ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่ล้าง แล้วขัดให้สะอาด
· ห้ามใช้ใยขัดโลหะ หรือฝอยขัดหม้อขัดเครื่องเงิน เพราะอาจทำให้เป็นรอยขีดข่วน และสึกหรอได้
      การเก็บรักษา
เครื่องเงินที่นำมาใช้ เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ถุง ใส่กล่อง แล้วนำเก็บเข้าตู้ไม่ให้ถูกอากาศ



 

เครื่องเรือนที่ทำจากหนัง


    2.เครื่องเรือนที่ทำจากหนัง

 
    เครื่องเรือนที่ทำจากหนังมี 2 แบบ คือ แบบหนังเรียบธรรมดา และแบบหนังกลับ ใช้ทำชุดรับแขก กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด มีวิธีดูแลรักษาตามชนิดของเครื่องหนัง ดังนี้
1. เครื่องหนังธรรมดา ให้ทำความสะอาดด้วยการใช้แปรงอ่อน ๆ ปัดฝุ่น หรือสิ่งสกปรกออกให้หมดก่อน แล้วใช้เศษผ้า ฟองน้ำ หรือแปรงขัดหนัง ขัดให้ทั่ว ต่อจากนั้นให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่
2. หนังกลับ ทำความสะอาดด้วยการปัดฝุ่นละออง โดยใช้แปรงปัดฝุ่นให้ชนลู่ไปทางเดียวกันเพื่อให้สวยงาม และระวังอย่าให้ถูกความชื้นและความร้อน เพราะจะทำให้เสียรูปทรง



 

 

 

การดูเเลรักษาเครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้




                                                  การดูแลรักษาเครื่องใช้ภายในบ้าน

1.การดูเเลรักษาเครื่องเรือน
  

               เป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่ช่วยตกแต่งภายในบ้านให้สวยงาม  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้  ชุดรับแขก  เป็นต้น  ในการทำความสะอาดเครื่องเรือนระวังอย่าให้เกิดรอยขีดข่วน  ดังนั้นในการปัดฝุ่นควรใช้ไม้กวาดขนไก่หรือผ้านุ่ม  และถ้าจะต้องล้างหรือขัดสิ่งสกปรกไม่ควรใช้ฝอยขัด  ดังนั้น  เพื่อให้อายุการใช้งานของเครื่องเรือนได้ยาวนาน  ควรดูแลรักษาให้ถูกวิธีตามลักษณะและชนิดของวัสดุ  
   1.เครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้
       
     1.ไม้เนื้อเเข็ง                             
                           วิธีดูแลรักษา
      ใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออกให้หมด  ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าขนหนูที่สะอาดชุบน้ำบิดให้หมาด  เช็ดฝุ่นให้สะอาดทุกซอกทุกมุม  ทิ้งให้แห้ง  หากมีรอยเปื้อนมาก ๆ ขัดออกด้วยกระดาษทราย ทาขี้ผึ้งแล้วขัดด้วยผ้าแห้ง  หรือใช้น้ำยาชักเงาที่ขายสำเร็จรูปฉีดแล้วทิ้งให้แห้ง  ไม่ควรให้เปียกน้ำ
         2.ไม้เนื้ออ่อน

                         วิธีดูเเลรักษา
ใช้แปรงหรือไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออก  แล้วใช้ผ้าฝ้ายสะอาดชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดออก  ทิ้งไว้ให้แห้ง  ควรฉีดยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมอด  แล้วนำออกตากแดด  ไม่ควรใช้มือเปียกจับเครื่องเรือน  เพราะจะทำให้เกิดรอยด่าง  ถ้ามีรอยเปื้อนมาก ๆ ให้เช็ดด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำอุ่นให้ทั่ว  แล้วขัดด้วยขี้ผึ้ง   การเก็บรักษา  เครื่องเรือนที่ทำจากไม้  เมื่อทำความสะอาดแล้วควรผึ่งให้แห้งสนิทเสียก่อน  แล้วจึงนำมาเก็บหรือตั้งไว้ในที่แห้ง  ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง  เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่าย



การตากเเห้ง



 3. การถนอมอาหารโดยตากแห้ง
          


         เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ เป็นวิธีที่ทำให้อาหารหมดความชื้นหรือมีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย  เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ 
ทำให้อาหารไม่เกิดการบูดเน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุดเช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น
              ก่อนตากแห้งต้องล้างให้สะอาด ถ้าเป็นพวกผักมักลวกด้วยน้ำเดือดเสียก่อน  ทำให้หยุดยั้งปฏิกิริยาเคมี บางรายนิยมนำเอาผลไม้ไปรมควันกำมะถันอ่อนๆ  ก่อนที่จะตากแห้ง  ซึ่งจะช่วยให้มีสีและรสดีขึ้น ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดรสเปรี้ยวและช่วยกันไม่ให้แมลงกัดกินอีกด้วย
              อาหารที่นิยมถนอมโดยการตากแห้ง มักเป็นประเภทผัก ผลไม้ และเนื้อ เช่น ดีปลี พริก เห็ดบางชนิด  หมากแห้ง (ฝานก่อนตาก) กล้วยตาก (กล้วยสุกปอกเปลือกแล้วตากแห้ง)  ลูกหยี (ปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) 
ส้มแขก (หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตากแห้ง ใช้ในการปรุงอาหาร)  เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เป็นต้น
                การตากแห้งอาหารประเภทเนื้อ มักใช้เกลือช่วยเพื่อกันการบูดเน่า และช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น  เช่น หอยตาก ปลาริ้ว  ปลาแห้ง  เนื้อแห้ง  เคย  บางชนิดต้มให้สุกเสียก่อนแล้วนำมาตากแห้ง  เช่น สารกุ้ง (กุ้งแห้ง) 
ข้าวเกรียบกุ้ง  ข้าวเกรียบปลา เป็นต้น